AEC กับ ธุรกิจสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม
สถานการณ์ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2556 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์มาแล้วว่า ธุรกิจประเภทนี้จะยังคงเผชิญความท้าทายในการประคองความสามารถในการแข่งขัน และการก้าวผ่านแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และยังคาดว่ามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2556 น่าจะอยู่ระหว่าง -5.0% ถึง 0.0% โดยแรงขับเคลื่อนหลักยังมาจากอาเซียนและญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการทั้งหลายพึงกระท้าคือ การวางกลยุทธ์ และการปรับตัวในระยะข้างหน้า ควรเทน้ำหนักไปที่สายการผลิตที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เร่งพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ พร้อมกับพิจารณาแนวทางขยายสายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อรับการแข่งขัน และปรับตัวรับกับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ดี ประเด็นส้าคัญของธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 2556 ที่น่าสนใจมีดังนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2556 น่าจะอยู่ที่ ระดับ 6,700-7,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรืออยู่ระหว่างอัตราการหดตัวร้อยละ 5.0 ถึงทรงตัวในระดับใกล้เคียง กับปี 2555 โดยตลาดที่ยังมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นตลาดคู่ค้าหลักในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพราะผู้บริโภคยังคงต้องรัดเข็มขัด ในขณะที่ราคาสินค้าของไทยอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จึงท้าให้ค้าสั่งซื้อจากตลาดกลุ่มนี้อาจจะหดตัวไปอีกสักระยะ
ส่วนตลาดในเอเชียอย่างอาเซียน และญี่ปุ่น พบว่ายังคงเติบโตเป็นบวก และตลาดสองกลุ่มนี้น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในระยะต่อไป โดยตลาดอาเซียนยังเติบโตอีก ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นได้รับอานิสงส์จากการที่ญี่ปุ่นลดการพึ่งพาการน้ำเข้าจากจีน จึงหันมาน้ำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มมากขึ้นคาดว่ามูลค่าการส่งออกน่าจะกลับมาพลิกฟื้นในช่วงครึ่งหลังปี 2556 ได้
หากโฟกัสประเทศคู่แข่งทางการค้า โดยเฉพาะจากประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม) ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และ ยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าอยู่ ผู้ประกอบการไทยจะได้รับแรงกดดันทางด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งราคาสาธารณูปโภคและพลังงาน ตลอดจนการขาดแคลนแรงงาน พิจารณาแล้วผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มจะได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้วจะกระทบอย่างมากต่อ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือSMEs(มีจ้านวนมากกว่าร้อยละ 85 ของผู้ประกอบการทั้งหมดในอุตสาหกรรม) ที่มีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยกลุ่มที่คาดว่าจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการที่มีทางออกไปตั้งโรงงานในต่างประเทศเพื่อลดต้นทุน การขยายช่องทางจ้าหน่ายในต่างประเทศ ขณะที่กลุ่มที่ต้องยอมรับว่าอยู่รอดได้ยาก และจ้าเป็นต้องเร่งปรับตัวอย่างเร่งด่วน คือ กลุ่มผู้ประกอบการSMEsที่ยังรับจ้างผลิตสินค้าที่ต้องแข่งขันด้านราคา ไม่มีศักยภาพในการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ และมีข้อจ้ากัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการปิดกิจการ และจ้าเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ดี การเข้าไปลงทุนในต่างประเทศส้าหรับผู้ประกอบการSMEsอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูง และมีกฎระเบียบที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น การรวมกลุ่มกัน (Cluster) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสายป่านยาว หรือการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า ทั้งการเป็นพาร์ตเนอร์ หรือการร่วมทุนกับนักธุรกิจที่เป็นคนท้องถิ่น น่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหาตลาดรองรับได้ นอกจากนี้ โอกาสในการเจาะตลาดเพื่อนบ้านผ่านการค้าชายแดน ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรเร่งขยายการส่งออกให้เพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบด้านคุณภาพและระยะทางการขนส่งที่ใกล้
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ